ทวิภาคี Vs ฝึกงาน

 

           ในวันนี้นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนเนื้อหอมเพราะการขาดแคลนแรงงาน จากข้อมูลของประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  ประเมินว่าปี 2566ประเทศไทยในภาคอุตสาหกรรมโดยรวมยังขาดแคลนแรงงานอยู่ที่ 350,000-500,000 คนโดยส่วนใหญ่ในภาคการท่องเที่ยวและบริการ เนื่องจากการท่องเที่ยวโตแบบฉับพลัน ทำให้แรงงานที่ขาดแคลนอยู่แล้วขาดแคลนเพิ่มไปอีก จะเห็นได้จากข่าวภูเก็ต ขาดแคลนแรงงานหนัก เตรียมลงนาม MOU กับวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ดึงนักศึกษามาฝึกงาน แก้ปัญหาแรงงาน มีทั้งนักศึกษาฝึกงาน และนักศึกษาระบบทวิภาคี 

            ไม่ว่าการฝึกงาน หรือทวิภาคีต่างเป็นประโยชน์เพราะสถานประกอบการสามารถเตรียมความพร้อมเรื่องคนทำงานโดยไม่ต้องเสียเวลาฝึกพนักงานใหม่ สามารถพิจารณาคัดเลือกและรับนักเรียน นักศึกษาเข้าทำงานได้ทันทีหลังจบการศึกษา และจะเกิดความยั่งยืนของธุรกิจในอนาคต

            คำว่า “ฝึกงาน หรือ Internship คือการที่นักเรียน นักศึกษาหาที่ฝึกงานเอง เน้นการสัมผัสกับบรรยากาศการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เพื่อเป็นเตรียมตัวก่อนจบการศึกษาไปทำงาน เป็นงานที่สอดคล้องกับงานในสาขาวิชาที่เรียน ทางสถานประกอบการจะพิจารณาด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่  โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง หรือไม่น้อยกว่า 40 วัน ส่วนมากสถานประกอบการจะคุยกับสถานศึกษาขอให้ฝึกงาน ภาคเรียน

            คำว่า “การศึกษาระบบทวิภาคี หรือ Dual Vocational Education” คือระบบการศึกษาที่นักเรียน นักศึกษาใช้เวลาเรียนส่วนหนึ่งในสถานศึกษา และใช้เวลาอีกส่วนหนึ่งฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการที่มี MOU (Memorandum of Understanding) ร่วมกัน เป็นการฝึกปฏิบัติงานจริงเพื่อเตรียมตัวเข้าทำงาน มีระยะเวลาการฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการไม่น้อยกว่า ภาคเรียน หรือไม่น้อยกว่า 36 สัปดาห์ เพราะ ภาคเรียนมี 18 สัปดาห์ สามารถยืดหยุ่นได้ว่าจัดสลับวัน สลับภาคเรียน ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน

ทั้งสองอย่างสถานประกอบการจะเรียกรวมๆกันว่า “ฝึกงาน” แต่ถ้าจะเรียกให้ถูกถ้าเป็นระบบทวิภาคีจะเรียกว่า “ฝึกอาชีพ” ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการพิจารณา ดังนี้

 

ประเด็นสำคัญที่ ต้องมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ MOU  ระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ สามารถติดต่อขอแบบร่างได้ที่สถานศึกษาที่จะรับนักเรียน นักศึกษาได้

ฝึกงาน เป็น MOU การฝึกงานที่มีรายละเอียดโดยรวมกว้างๆเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการ และการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าฝึกงาน 

ทวิภาคี เป็น MOU การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ซึ่งจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับความร่วมมือ การสนับสนุนทางวิชาการหน้าที่ของทั้ง ฝ่าย 

 

ประเด็นสำคัญที่ ต้องมีสัญญาฝึกงาน/ฝึกอาชีพ ระหว่างสถานประกอบการกับนักเรียน นักศึกษา สามารถติดต่อขอแบบร่างได้ที่สถานศึกษาที่จะรับนักเรียน นักศึกษาได้เช่นกัน

ฝึกงาน เป็นสัญญาการฝึกงานที่มีรายละเอียดโดยรวมเกี่ยวกับการฝึกงาน และระยะเวลาการฝึกงาน ระยะเวลาการฝึกงาน การลา ระเบียบปฏิบัติ และการประกันอุบัติเหตุ

ทวิภาคี เป็นสัญญาการฝึกอาชีพที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียน และการฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ ระยะเวลาการฝึก การลา การกำกับดูแล สวัสดิการ ระเบียบปฏิบัติ และการส่งเสริม สนับสนุน การประกันอุบัติเหตุ และอื่นๆ ตามแต่จะตกลงกัน

 

ประเด็นสำคัญที่ ต้องมีครูฝึก ซึ่งเป็นพนักงานหรือบุคลากรของสถานประกอบการที่สามารถฝึกงานนักเรียน นักศึกษาได้ มิใช่รับเข้าไปทำงานทดแทนตำแหน่งพนักงานที่ขาดไป

ฝึกงาน มีจำนวนที่เหมาะสมกับดูแลการฝึกงานของนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง ให้มีความปลอดภัย

ทวิภาคี ระดับ ปวช. และ ปวส. มีจำนวนครูฝึก คนต่อจำนวนนักเรียน นักศึกษาไม่เกิน  10 คน และระดับปริญญาตรีมีจำนวนครูฝึก คนต่อจำนวนนักศึกษาไม่เกิน  คน 

 

ประเด็นสำคัญที่ ความต่างกันในเรื่องคุณสมบัติ

ฝึกงาน เป็นนักเรียน นักศึกษาปีสุดท้าย ถ้าเป็นนักเรียน ปวช.จะฝึกในปี เทอมแรก หรือเทอมสอง ถ้านักศึกษาระดับ ปวส. จะฝึกในปี เทอมแรก หรือเทอมสอง แต่หลักสูตรยืดหยุ่นให้สามารถฝึกในภาคฤดูร้อนได้ซึ่งถ้าสถานประกอบการต้องการก็ต้องไปคุยกับสถานศึกษา

ทวิภาคี ทั้งระดับ ปวช.  ปวส.  และ ป.ตรี มีหลักสูตรกำหนดชัดเจนว่าต้องเรียนในระบบทวิภาคี ซึ่งสถานประกอบการสามารถตกลงกับสถานศึกษาในการรับสมัครนักเรียน นักศึกษาร่วมกัน มีบางสถานประกอบการหานักเรียนเข้าโครงการทวิภาคีโดยมีการให้ทุนการศึกษา

 

ประเด็นสำคัญที่ ความต่างกันในเรื่องการฝึกงาน

ฝึกงาน เป็นการฝึกที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เรียน ไม่เน้นชงกาแฟหรือต้อนรับ เน้นให้สัมผัสบรรยากาศการทำงานจริง ให้เป็นลูกมือหรือผู้ช่วยงาน และให้ปฏิบัติงานจริง 

ทวิภาคี เป็นการฝึกอาชีพหรือจะเรียกให้ชัดเจนคือการเรียนและฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการตามรายวิชาที่สถานศึกษากับสถานประกอบการตกลงกัน โดยฝั่งสถานศึกษาจะถือแผนการเรียนที่มีชื่อวิชาตามหลักสูตร ส่วนฝั่งสถานประกอบการถืองานเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่างานที่ทำต้องเป็นงานที่สามารถประเมินผลกลับไปเป็นผลการเรียนของรายวิชาในหลักสูตรได้ สถานประกอบการสามารถให้บุคลากรของสถานประกอบการเป็นครูผู้ช่วยฝึกปฏิบัติหรือสอนในรายวิชาที่ตกลงกัน

 

ประเด็นสำคัญที่ ความต่างในเรื่องระยะเวลา

ฝึกงาน มีระยะเวลาตั้งแต่ 320 ชั่วโมง หรือ 40 วัน ในกรณียาวไปจนถึง ภาคเรียน สถานศึกษาจะมีรายวิชา โครงงาน เพิ่มเติมให้ 

ทวิภาคี – มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ภาคเรียน หรือ ปีขึ้นไป

 

ประเด็นสำคัญที่ ความเหมือนเรื่องการประเมินผลการฝึก

ฝึกงาน และทวิภาคี  สถานศึกษามีแบบประเมินที่ระบุเรื่องที่ประเมินและไทม์ไลน์มาให้ สถานประกอบการให้พนักงานหรือบุคลากรที่รับผิดชอบสอนงานทำหน้าประเมินตามที่กำหนดส่งให้สถานศึกษาไปตัดเกรด 

 

ประเด็นสำคัญที่ ความเหมือนเรื่องครูฝึก

ฝึกงาน และทวิภาคี  ครูฝึกเป็นคำโดยรวมแต่ในการฝึกประสบการณ์จริงในสถานประกอบการควรมีคนที่ทำหน้าที่ดูแลและประสานงานอาจเรียกว่าโค้ช (Coach) ที่ส่วนมากเป็นฝ่ายบุคคลทำหน้าที่ติดตาม กำกับ ดูแลการใช้ชีวิตในสถานประกอบการ ดูแลความประพฤติ คอยแนะนำ และรายงานให้สถานศึกษาทราบ และมีคนสอนงานเรียกว่าพี่เลี้ยง (Mentor) ทำหน้าที่สอนและควบคุมการปฏิบัติงาน

 

ประเด็นสำคัญที่ ความเหมือนในเรื่องแผนการฝึก

ฝึกงาน และทวิภาคี ต้องมีแผนการฝึกเพื่อให้การฝึกงานเป็นระบบระเบียบอย่างมืออาชีพ ฝึกจากง่ายไปยาก จัดการฝึกได้ครบงานตามที่ต้องการ ว่าจะฝึกงานอะไรบ้าง ฝึกอย่างไร ใช้ระยะเวลาการฝึกเท่าไร การทำแผนการฝึกนอกจากช่วยให้การฝึกงานมีประสิทธิภาพแล้วยังจะช่วยให้การพัฒนาพนักงานมีประสิทธิภาพด้วย แผนการฝึกทำได้ง่าย ๆ คือให้ลองลิสต์ชื่องานที่จะให้น้องนักเรียน นักศึกษาทำว่ามีอะไรบ้าง แต่ละงานดูง่ายๆจะมีขั้นตอนการปฏิบัติงานเมื่อทำเสร็จจะได้ชิ้นงาน/ผลงานออกมา เช่นงานตรวจสอบและเติมน้ำในหม้อน้ำฉีดล้างกระจกรถยนต์ งานตรวจสอบและเปลี่ยนยางรถยนต์ งานรับจองห้องพัก งานจัดโต๊ะอาหาร งานเสิร์ฟอาหาร งานเสิร์ฟเครื่องดื่ม งานทำแป้งพิซซ่า งานอบพิซซ่า เป็นต้น

 

ประเด็นสำคัญที่ 10 ความเหมือนในเรื่องสมุดบันทึกการฝึกงาน

ฝึกงาน และทวิภาคี จะมีรูปแบบที่เหมือนกันคือเป็นสมุดคู่มือพร้อมกับบันทึกการฝึกงาน/ฝึกอาชีพ ที่สถานศึกษากำหนดและพิมพ์เป็นเล่มให้เรียบร้อย ประกอบไปด้วยสาระสำคัญคือระเบียบ แนวปฏิบัติ รายงานบันทึกการปฏิบัติงาน ตารางลงเวลา รายงานการเข้าร่วมกิจกรรม โดยในแต่ละวันจะมีให้ครูฝึกลงนามรับรอง

 

ประเด็นสำคัญที่ 11 ความเหมือนในเรื่องการนิเทศจากครูของสถานศึกษา

ฝึกงาน และทวิภาคี จะมีการมานิเทศ ติดตาม การฝึกงานโดยครูที่เรียกว่าครูนิเทศก์จากสถานศึกษา แต่ถ้าสถานศึกษาอยู่ต่างจังหวัดก็จะใช้ไลน์หรือโทรมาถามสารทุกข์สุกดิบ

 

  • หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการทุกท่าน และสนับสนุนน้องนักเรียน นักศึกษาเรื่องสวัสดิการให้เหมาะสมเพราะเขาคือกำลังคนที่มีคุณภาพของท่านในอนาคต หากได้สวัสดิการดีผลตอบแทนย่อมดีแน่นอน เพราะน้อง ๆ สามารถทำงานได้เท่าพนักงานประจำเชียวนะ ครับ

 

ที่มา

หลักเกณฑ์การฝึกงานหลักสูตรการอาชีวศึกษา

มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. 2563

                                                          โดย สุบิน แพทย์รัตน์ ID Line : subin.pr



ความคิดเห็น